เมนู

9. อุปนิสสยปัจจัย


[550] 1. คันถสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นคันถสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นคันถสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 2)
พึงกระทำอุปนิสสยปัจจัย ทั้ง 3 นัย
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นคันถสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นคันถวิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 3)
พึงกระทำอุปนิสสยปัจจัย ทั้ง 3 นัย
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นคันถสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่
สหรคตด้วยโลภะ ที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตธรรม และโลภะ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโทมนัส และปฏิฆะ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. คันถวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถวิปปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
ก่อมานะ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ความปรารถนา
สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ แล้วให้ทาน ฯลฯ
ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เสนาสนะ เป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่โทสะ แก่โมหะ แก่มานะ
แก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
5. คันถวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ มานะ ความ
ปรารถนา ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ราคะ แก่โทสะ แก่โมหะ
แก่มานะ แก่ทิฏฐิ แก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

6. คันถวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถสัมปยุตต-
ธรรม และคันถวิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอุปนิสสยะทั้ง 3 นัย.
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ.
ความปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ ความปรารถนา เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโลภะ ที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตธรรม
และโลภะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโทมนัส และปฏิฆะ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
7. คันถสัมปยุตตธรรม และคันถวิปปยุตตธรรม
เป็นปัจจัยแก่คันถสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโลภะ ที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตธรรม และ
โลภะ, ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโทมนัส และปฏิฆะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นคันถสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 8)

ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโลภะ ที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตธรรม และ
โลภะ และขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโทมนัส และปฏิฆะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นคันถวิปปยุตตธรรม แก่โลภะ ที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตธรรม และ
ปฏิฆะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 9)
ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโลภะ ที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตธรรม และ
โลภะ และขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโทมนัส และปฏิฆะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโลภะ ที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตธรรม และโลภะ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยโทมนัส และปฏิฆะ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[551] 1. คันถวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถวิปปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ
ที่เป็นคันถวิปปยุตตธรรม ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น.